วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เทคนิคเลือกซื้อคอม

หลักการพิจารณาและการเลือกซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์





สิ่งแรก ที่ควรจะต้องคำนึงถึงมากที่สุดในการ Upgrade หรือการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่คือ ถามใจคุณก่อนว่าต้องการซื้อคอมพิวเตอร์มาเพื่อทำอะไร เหตุผลหลัก ๆ ของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในสมัยนี้ผมขอแบ่งเป็นหัวข้อดังนี้
1. สำหรับใช้งานทั่ว ๆ ไปเช่น พิมพ์งานเอกสาร ต่าง ๆ หรือสำหรับเล่นอินเตอร์เน็ต
2. สำหรับการเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ
3. สำหรับงานที่ต้องใช้ความเร็วของ CPU สูง เช่นการใช้ทำงานเกี่ยวกับ CAD หรือการ Encode ต่าง ๆ
4. สำหรับใช้เป็นเครื่อง Server
ดังนั้น คำถามแรกสำหรับคุณ คือต้องการที่จะ Upgrade หรือซื้อคอมพิวเตอร์ มาเพื่อใช้สำหรับทำอะไร แล้วก็เลือกอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับงานของคุณ (โดยที่อาจจะมีการเผื่อการ Upgrade ในอนาคตด้วย)

หลักการเลือกซื้อ CPU สำหรับคอมพิวเตอร์



                           การเลือก CPU สำหรับคอมพิวเตอร์ นี้ควรจะเป็นสิ่งแรก ที่ต้องนึกถึงก่อนอย่างอื่น ให้มองภาพให้ออกก่อนว่า CPU ที่มีใช้งานอยู่ในตลาดปัจจุบันนี้มีรุ่นไหน ความเร็วเท่าไรกันบ้าง อย่าลืมว่า ยิ่ง CPU ที่มีความเร็วสูง ๆ ราคาก็จะยิ่งแพงตามไปด้วย หากท่านเลือกซื้อ CPU ที่ราคาแพง ๆ เมื่อใช้งานไปได้สักระยะหนึ่ง CPU ที่คุณเคยภูมิใจนักหนา อาจจะมีราคาตกลงมา เหลือแค่หลักพันต้น ๆ ก็ได้ ดังนั้นควรเลือกซื้อ CPU ที่เหมาะกับการใช้งานของคุณเองดีกว่า หากต้องการใช้งาน คอมพิวเตอร์ แบบธรรมดา ใช้พิมพ์เอกสารต่าง ๆ เล่นอินเตอร์เน็ต ก็เลือก CPU ที่ราคาถูก ๆ ก็เพียงพอแล้ว แต่หากใครต้องการเน้นไปที่ การใช้งานแบบหนัก ๆ ก็คงจะต้องเลือก CPU ที่มีความเร็วและประสิทธิภาพสูงขึ้นไปอีกสักหน่อย อย่าลืมนะครับว่า ควรเลือกอุปกรณ์สำหรับเผื่อการ Upgrade ในอนาคตด้วย
การแบ่งชนิดของ CPU ขอแบ่งออกตามการออกแบบ และชนิดของเมนบอร์ดที่ใช้งานดังนี้
  • Intel Pentium 100-166 MHz ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Socket 7 รุ่นแรก ๆ
  • Intel Pentium MMX 166-233 MHz ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Socket 7 ที่ Support MMX
  • AMD K6-II 266-366 MHz ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Socket 7 ทำงานที่ FSB 66 MHz
  • AMD K6-II 350-550 MHz ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Super Socket 7 ทำงานที่ FSB 100 MHz
  • AMD K6-III 400-450 MHz ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Super Socket 7 ทำงานที่ FSB 100 MHz
  • Intel Pentium II 233-333 MHz ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Slot 1 ทำงานที่ FSB 66 MHz
  • Intel Pentium II 350-450 MHz ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Slot 1 ทำงานที่ FSB 100 MHz
  • Intel Pentium III 450-600 MHz ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Slot 1 ทำงานที่ FSB 100 MHz
  • Intel Pentium III Coppermine 500 MHz ขึ้นไป ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Socket 370 FC-PGA
  • Intel Celeron 266-533 MHz ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Socket 370 ทำงานที่ FSB 66 MHz
  • Intel Celeron II 566 MHz ขึ้นไป ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Socket 370 ทำงานที่ FSB 66 MHz
  • AMD Athlon 500 MHz ขึ้นไป ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Slot A ทำงานที่ FSB 200 MHz (DDR)
  • AMD Duron 550 MHz ขึ้นไป ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Socket A ทำงานที่ FSB 200 MHz (DDR)

หลักการพิจารณาและการเลือกซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์



 
สิ่งแรก ที่ควรจะต้องคำนึงถึงมากที่สุดในการ Upgrade หรือการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่คือ ถามใจคุณก่อนว่าต้องการซื้อคอมพิวเตอร์มาเพื่อทำอะไร เหตุผลหลัก ๆ ของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในสมัยนี้ผมขอแบ่งเป็นหัวข้อดังนี้
          1. สำหรับใช้งานทั่ว ๆ ไปเช่น พิมพ์งานเอกสาร ต่าง ๆ หรือสำหรับเล่นอินเตอร์เน็ต
          2. สำหรับการเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ
        3. สำหรับงานที่ต้องใช้ความเร็วของ CPU สูง เช่นการใช้ทำงานเกี่ยวกับ CAD หรือการ Encode ต่าง ๆ
          4. สำหรับใช้เป็นเครื่อง Server
ดังนั้น คำถามแรกสำหรับคุณ คือต้องการที่จะ Upgrade หรือซื้อคอมพิวเตอร์ มาเพื่อใช้สำหรับทำอะไร แล้วก็เลือกอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับงานของคุณ (โดยที่อาจจะมีการเผื่อการ Upgrade ในอนาคตด้วย)

หลักการเลือกซื้อ CPU สำหรับคอมพิวเตอร์

การเลือก CPU สำหรับคอมพิวเตอร์ นี้ควรจะเป็นสิ่งแรก ที่ต้องนึกถึงก่อนอย่างอื่น ให้มองภาพให้ออกก่อนว่า CPU ที่มีใช้งานอยู่ในตลาดปัจจุบันนี้มีรุ่นไหน ความเร็วเท่าไรกันบ้าง อย่าลืมว่า ยิ่ง CPU ที่มีความเร็วสูง ๆ ราคาก็จะยิ่งแพงตามไปด้วย หากท่านเลือกซื้อ CPU ที่ราคาแพง ๆ เมื่อใช้งานไปได้สักระยะหนึ่ง CPU ที่คุณเคยภูมิใจนักหนา อาจจะมีราคาตกลงมา เหลือแค่หลักพันต้น ๆ ก็ได้ ดังนั้นควรเลือกซื้อ CPU ที่เหมาะกับการใช้งานของคุณเองดีกว่า หากต้องการใช้งาน คอมพิวเตอร์ แบบธรรมดา ใช้พิมพ์เอกสารต่าง ๆ เล่นอินเตอร์เน็ต ก็เลือก CPU ที่ราคาถูก ๆ ก็เพียงพอแล้ว แต่หากใครต้องการเน้นไปที่ การใช้งานแบบหนัก ๆ ก็คงจะต้องเลือก CPU ที่มีความเร็วและประสิทธิภาพสูงขึ้นไปอีกสักหน่อย อย่าลืมนะครับว่า ควรเลือกอุปกรณ์สำหรับเผื่อการ Upgrade ในอนาคตด้วย
การแบ่งชนิดของ CPU ขอแบ่งออกตามการออกแบบ และชนิดของเมนบอร์ดที่ใช้งานดังนี้
  • Intel Pentium 100-166 MHz ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Socket 7 รุ่นแรก ๆ
  • Intel Pentium MMX 166-233 MHz ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Socket 7 ที่ Support MMX
  • AMD K6-II 266-366 MHz ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Socket 7 ทำงานที่ FSB 66 MHz
  • AMD K6-II 350-550 MHz ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Super Socket 7 ทำงานที่ FSB 100 MHz
  • AMD K6-III 400-450 MHz ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Super Socket 7 ทำงานที่ FSB 100 MHz
  • Intel Pentium II 233-333 MHz ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Slot 1 ทำงานที่ FSB 66 MHz
  • Intel Pentium II 350-450 MHz ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Slot 1 ทำงานที่ FSB 100 MHz
  • Intel Pentium III 450-600 MHz ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Slot 1 ทำงานที่ FSB 100 MHz
  • Intel Pentium III Coppermine 500 MHz ขึ้นไป ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Socket 370 FC-PGA
  • Intel Celeron 266-533 MHz ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Socket 370 ทำงานที่ FSB 66 MHz
  • Intel Celeron II 566 MHz ขึ้นไป ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Socket 370 ทำงานที่ FSB 66 MHz
  • AMD Athlon 500 MHz ขึ้นไป ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Slot A ทำงานที่ FSB 200 MHz (DDR)
  • AMD Duron 550 MHz ขึ้นไป ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Socket A ทำงานที่ FSB 200 MHz (DDR)
อีกปัจจัยหนึ่งของการเลือก CPU คือขนาดของ Cache นะครับ โดยที่ Cache ส่วนใหญ่จะแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ L1 และ L2 Cache (หรือ Cache Level 1 กับ Level 2) จะอยู่ในแผ่นชิปเดียวกับ CPU ทำงานที่ความเร็วเท่ากับ CPU แบบ Full Speed หรือทำงานที่ความเร็วครึ่งหนึ่งของ CPU หรือเรียกว่า Half Speed ดังนั้น ต้องหาข้อมูลของ CPU รุ่นต่าง ๆ กันก่อนนะครับ ว่ารุ่นไหนมี L1 และ L2 ขนาดเท่าไร ทำงานที่ความเร็วเท่าไร ยิ่งจำนวนของ Cache มีมากเท่าไร ก็จะได้ประสิทธิภาพของ CPU มากขึ้นนะครับ แถมท้ายเป็นความรู้นิดนึงนะครับ ว่าด้วยเหตุผลนี้เองที่ทำให้ Intel ต้องออก CPU แบบ Celeron มาโดยลดขนาดของ Cache ลงเพื่อให้เป็น CPU ราคาถูกแข่งขันกับ AMD แต่การลดขนาดของ Cache ก็ทำให้ประสิทธิภาพลดลงไปด้วยนะ
หากจะแบ่ง CPU ตามราคาต่าง ๆ แล้ว ก็อาจจะสามารถแบ่งออกเป็น 2 ระดับ
  • CPU สำหรับตลาดระดับล่าง จะเป็น CPU ที่มีราคาค่อนข้างถูก คือ AMD K6II, AMD K6III และ Intel Celeron
  • CPU สำหรับตลาดระดับกลาง จะเป็น CPU ที่มีราคาสูงขึ้นมา แต่จะได้ประสิทธิภาพต่าง ๆ มากขึ้นเช่น Intel Pentium II, Intel Pentium III หรือ AMD Athlon
  • CPU สำหรับตลาดระดับสูง สำหรับงานที่ใช้ความเร็วค่อนข้างมากเช่นการทำ Server ต่าง ๆ ซึ่งขอไม่พูดถึง

ไวรัส

                 
                           

                          ไวรัสคอมพิวเตอร์ (computer virus) ซึ่งเรียกชื่อเลียนแบบ ไวรัส ที่เป็นสิ่งมีชีวิต แต่เป็นคำเรียกแบบย่อของ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่มีชุดคำสั่งระบบปฏิบัติการใดๆก็ตามเท่าที่โปรแกรมถูกเขียนขึ้นมาเพื่อการใดการหนึ่งทั้งที่มีประโยนช์ทางการทำงานตามผู้เขียนโปรแกรมนั้นขึ้นมา
                          ไวรัสคอมพิวเตอร์ ที่บุกรุกเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ใช้ ส่วนมากมักจะมีประสงค์ร้ายและสร้างความเสียหายให้กับระบบของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆ
ในเชิงเทคโนโลยีความมั่นคงของระบบคอมพิวเตอร์นั้น ไวรัสเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำสำเนาของตัวเอง เพื่อแพร่ออกไปโดยการสอดแทรกตัวสำเนาไปในรหัสคอมพิวเตอร์ส่วนของข้อมูลเอกสารหรือส่วนที่สามารถปฏิบัติการได้ ดังนั้นไวรัสคอมพิวเตอร์จึงมีพฤติกรรมในลักษณะเดียวกับไวรัสในทางชีววิทยา ซึ่งสามารถแพร่กระจายไปในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตในลักษณะเดียวกันนี้ คำอื่นๆ ที่ใช้กับไวรัสในทางชีววิทยายังขยายขอบข่ายของความหมายครอบคลุมถึงไวรัสในทางคอมพิวเตอร์ เช่น การติดไวรัส (infection) แฟ้มข้อมูลที่ติดไวรัสนี้จะเรียกว่า โฮสต์ (host) ไวรัสนั้นเป็นประเภทหนึ่งของโปรแกรมประเภทมัลแวร์ (malware) หรือโปรแกรมที่มีประสงค์ร้าย ในความหมายที่ใช้กันทั่วไปนั้น ไวรัสยังใช้หมายรวมถึง เวิร์ม (worm) ซึ่งก็เป็นโปรแกรมอีกรูปแบบหนึ่งของมัลแวร์ ซึ่งบางครั้งก็ทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์นั้นสับสนเมื่อคำไวรัสนั้นใช้ในความหมายที่เฉพาะเจาะจง คอมพิวเตอร์ไวรัสนั้นโดยทั่วไปจะไม่ส่งผลก่อให้เกิดความเสียหายต่อฮาร์ดแวร์โดยตรง แต่จะทำความเสียหายต่อซอฟต์แวร์
ในขณะที่ไวรัสโดยทั่วไปนั้นก่อให้เกิดความเสียหาย (เช่น ทำลายข้อมูล) แต่ก็มีหลายชนิดที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย เพียงแต่ก่อให้เกิดความรำคาญเท่านั้น ไวรัสบางชนิดนั้นจะมีการตั้งเวลาให้ทำงานเฉพาะตามเงื่อนไข เช่น เมื่อถึงวันที่ที่กำหนด หรือเมื่อทำการขยายตัวได้ถึงระดับหนึ่ง ซึ่งไวรัสเหล่านี้จะเรียกว่า บอมบ์ (bomb) หรือระเบิด ระเบิดเวลาจะทำงานเมื่อถึงวันที่ที่กำหนด ส่วนระเบิดเงื่อนไขนั้นจะทำงานเมื่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์มีการกระทำเฉพาะซึ่งเป็นตัวจุดชนวน ไม่ว่าจะเป็นไวรัสชนิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือไม่ก็ตาม ก็จะมีผลเสียที่เกิดจากการแพร่ขยายตัวของไวรัสอย่างไร้การควบคุม ซึ่งจะเป็นการบริโภคทรัพยากรคอมพิวเตอร์อย่างไร้ประโยชน์ หรืออาจจะบริโภคไปเป็นจำนวนมาก
ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Computer Virus) คือ โปรแกรมชนิดหนึ่งที่มีความสามารถในการสำเนาตัวเองเข้าไปติดอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ และถ้ามีโอกาสก็สามารถแทรกเข้าไปติดอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์อื่นๆ ซึ่งอาจเกิดจากการนำเอาแผ่นดิสก์หรือแฟลชไดร์ฟที่ติดไวรัสจากเครื่องหนึ่งไปใช้กับอีกเครื่องหนึ่ง การที่คอมพิวเตอร์ใดติดไวรัส หมายความว่าไวรัสได้เข้าไปผังตัวอยู่ในหน่วยความจำคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นเรียบร้อยแล้ว การที่ไวรัสจะเข้าไปอยู่ในหน่วยความจำได้นั้นจะต้องมีการถูกเรียกใช้ให้ทำงาน ซึ่งโดยปกติแล้วผู้ใช้มักจะไม่รู้ตัวเลยว่า ขณะที่ตนเรียกใช้โปรแกรมหรือเปิดไฟล์ใดๆขึ้นมาทำงาน ก็ได้เรียกไวรัสขึ้นมาทำงานด้วย จุดประสงค์การทำงานของไวรัสแต่ละตัวขึ้นอยู่กับผู้เขียนโปรแกรมไวรัสนั้น เช่น อาจสร้างไวรัสให้ไปทำลายโปรแกรมหรือข้อมูลอื่นๆ ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือแสดงข้อความวิ่งไปมาบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
ไวรัส (Virus) เป็นมัลแวร์ (Malware) ชนิดแรกที่เกิดขึ้นบนโลกนี้และอยู่มานาน ดังนั้นโดยทั่วไปตามข่าวหรือบทความต่างๆที่ไม่เน้นไปทางวิชาการมากเกินไป หรือเพื่อความง่ายและคุ้นเคยที่จะพูด ก็จะใช้คำว่า Virus แทนคำว่า Malware แต่ถ้าจะคิดถึงความจริงแล้วมันไม่ถูกต้อง อาจจะเป็นเพราะความเคยชินหรืออะไรก็ตาม จึงกลายเป็นว่าคนส่วนใหญ่ใช้คำว่า Virus แทนคำว่า Worm, Trojan, Spyware, Adware เป็นต้น ที่ถูกต้องควรใช้คำว่ามัลแวร์ (Malware) เพราะมัลแวร์มีหลายชนิด แต่ละชนิดก็ไม่เหมือนกัน